
ดินถล่ม (ภัยพิบัติ)
ดินถล่ม (Landslide) คือปรากฏการณ์ที่ส่วนของพื้นดิน ไม่ว่าจะเป็นก้อนหิน ดิน ทราย โคลน หรือเศษดิน เศษต้นไม้ไหล เลื่อน เคลื่อน ถล่ม พังทลาย หรือหล่น ลงมาตามที่ลาดเอียง อันเนื่องมาจากแรงดึงดูดของโลก ในขณะที่สภาพส่วนประกอบของชั้นดิน ความชื้นและความชุ่มน้ำในดิน ทำให้เกิดการเสียสมดุล
ดินถล่ม เป็นปรากฏการณ์ที่มีมาแต่สร้างโลก อาจเป็นเพียงเล็กน้อยเพียงก้อนหินก้อนเดียวที่ตกหรือหล่นลงมา หรือเศษของดินจำนวนไม่มากที่ไหลลงมา หรืออาจเกิดรุนแรงใหญ่โต เช่น ภูเขาหรือหน้าผา หรือลากเขาพังทลายลงมาก็ได้ และอาจเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด หรือค่อยๆ เป็นไปช้าๆ ก็ได้ จนกว่าจะเกิดความสมดุลใหม่จึงหยุด
เนื่องจากในระยะหลังๆ นี้ ดินถล่มปรากฏเป็นข่าวบ่อยมากขึ้น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินและชีวิตมากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาเพื่อหาทางป้องกันและหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้น
สาเหตุของดินถล่ม (Causes of Landslides) เกิดจากกรที่พื้นดินหรือส่วนของพื้นดินเคลื่อน เลื่อน ตกหล่น หรือไหล ลงมาจากที่ลาดชัน หรือลาดเอียงต่างระดับ ตามแรงดึงดูดของโลกในภาวะที่เกิดการเสียสมดุลด้วยเหตุต่างๆ มักพบบ่อยๆ บริเวณภูเขาที่ลาดชัน แต่ความจริงอาจเกิดขึ้นบริเวณฝั่งแม่น้ำ และชายฝั่งทะเลหรือมหาสมุทร แม้กระทั่งใต้มหาสมุทร แบ่งสาเหตุที่อาจทำให้ดินถล่มได้เป็น
1. สาเหตุตามธรรมชาติ (Natural causes)
- ความแข็งแรงของดิน ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของดิน (Soil composition) ว่าเป็น หินหรือ ดิน ประเภทใด มีโครงสร้างหรือมีต้นไม้ประกอบยึดเกาะกันแข็งแรงแค่ไหน มีชั้นดินดานตื้นหรือลึกในลักษณะใด
- ที่ที่มีความลาดเอียงมาก (Steep slope)
- มีฝนตกมากนานๆ (Prolong heavy rain)
- มีหิมะตกมาก (Heavy snowfall)
- โครงสร้างของแผ่นดิน (Structure of soil) ความแตกต่างกันของชั้นดินที่น้ำซืมผ่านได้ กับชั้นที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ ที่จะทำให้น้ำขังใต้ดินมากจนดินเหลวบนที่ลาดเอียง ทำให้เกิดการไหลได้
- ฤดูกาล (Glacial erosion, rain, drought)
- ต้นไม้ถูกทำลายโดยไฟป่าหรือความแล้ง (Vegetation removal by fire or drought)
- แผ่นดินไหว (Earthquake)
- คลื่น "สึนามิ" (Tsunami)
- ภูเขาไฟระเบิด (Volcanic eruption)
- การเปลี่ยนแปลงของน้ำใต้ดิน (Change in underground water)
- การสึกกร่อนของชั้นหินใต้ดิน (Change in underground structure)
- การกัดเซาะของฝั่งแม่น้ำ ฝั่งทะเล และไหล่ทวีป (Coastal erosion and change in continental slope)
1. สาเหตุจากมนุษย์( Human causes )
- การขุดดินบริเวณไหล่เขา ลาดเขาหรือเชิงเขา ( Excavation of slpoe or its toe ) เพื่อการเกษตร หรือทำถนน หรือขยายที่ราบในการพัฒนาที่ดิน หรือการทำเหมือง ( Mining ) ไม่ว่าบนภูเขาหรือพื้นราบ
- การดูดทรายจากแม่น้ำ หรือบนแผ่นดิน
- การขุดดินลึก ๆ ในการก่อสร้างห้องใต้ดินของอาคาร
- การบดอัดที่ดินเพื่อการก่อสร้าง ทำให้เกิดการเคลื่อนของดินในบริเวณใกล้เคียง
- การสูบน้ำใต้ดิน น้ำบาดาล ที่มากเกินไป หรือการอัดน้ำลงใต้ดิน ในพื้นที่บางแห่ง
- การถมดิน ก่อสร้าง เพิ่มน้ำหนัก บนภูเขา หรือสันเขา ( Loading or building on crest or slope )
- การทำลายป่า ( Deforestation ) เพื่อทำไร่ หรือสวนเกษตรกรรม
- การทำอ่างเก็บน้ำ ( Reservoir ) นอกจากเป็นการเพิ่มน้ำหนักบนภูเขาแล้ว ยังทำให้น้ำซึมลงใต้ดินมากจนเกินสมดุล
- การเปลี่ยนแปลงทางน้ำธรรมชาติ ( Change the natural stream ) ทำให้ระบบน้ำใต้ดินเสียสมดุล
- น้ำทิ้งจากอาคาร บ้านเรือน สวนสาธรณะ ถนน บนภูเขา ( Water from utilities leakages or or drainages )
- การกระเทือนต่าง ๆ เช่นการระเบิดหิน ( Artificial vibration )
ความเสียหายที่เกิดขึ้น
1.บริเวณที่เกิด ดินถล่ม จะทำให้โครงสร้างของชั้นดินบริเวณนั้นเสียสมดุล เป็นเหตุให้เกิด ดินถล่ม ซ้ำได้
2.ทำลายระบบนิเวศน์และชุมชน
3.สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
การเตรียมการและการป้องกัน
1.สังเกตและระมัดระวังพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเฉพาะเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกัน
2.วางแผนการอพยพหนีภัย เก็บของมีค่า และเอกสารสำคัญไว้ในที่ปลอดภัย
3.ปลูกต้นไม้ที่มีระบบรากแก้วเพื่อยึดเหนี่ยวชั้นดิน
ได้รับความรู้ดีมาก
ตอบลบ